วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

อาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ[1] อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ[2] เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบัน[3]
พระมหากษัตริย์

ลำดับ
พระนาม
ปีที่ครองราชย์
พระราชวงศ์
1
1893 - 1912 (19 ปี)
2
สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1
1912 - 1913 (1 ปี)
อู่ทอง
3
1913 - 1931 (18 ปี)
4
สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว)
1931 (7 วัน)
สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2
1931 - 1938 (7 ปี)
อู่ทอง
5
สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร)
1938 - 1952 (14 ปี)
อู่ทอง
6
สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว)
1952 - 1967 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ
7
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ )
1967 - 1991 (24 ปี)
สุพรรณภูมิ
8
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา)
1991 - 2031 (40 ปี)
สุพรรณภูมิ
9
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
2031 - 2034 (3 ปี)
สุพรรณถูมิ
10
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
2034 - 2072 (38 ปี)
สุพรรณภูมิ
11
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)
2072 - 2076 (4 ปี)
สุพรรณภูมิ
12
พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4)
2076 (5 เดือน)
สุพรรณภูมิ
13
สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)
2077 - 2089 (12 ปี)
สุพรรณภูมิ
14
พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช)
2089 - 2091 (2 ปี)
สุพรรณภูมิ
15
2091 - 2111 (20 ปี)
สุพรรณภูมิ
16
สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ)
2111 - 2112 (1 ปี)
สุพรรณภูมิ
17
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ)
2112 - 2133 (21 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
18
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)
2133 - 2148 (15 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
19
สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)
2148 - 2163 (15 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
20
พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ)
2163 - 2164 (1 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
21
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) [ต้องการอ้างอิง]
2164 - 2171 (7 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
22
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)
2171-2172 (2 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
23
พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)
2172 (36 วัน)
สุโขทัย (พระร่วง)
24
2172 - 2198 (26 ปี)
25
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)
2198-2199 (1 ปี)
ปราสาททอง
26
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง)
2199 (3 เดือน)
ปราสาททอง
27
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)
2199 - 2231 (32 ปี)
ปราสาททอง
28
2231 - 2246 (15 ปี)
29
2246 - 2251 (6 ปี)
บ้านพลูหลวง
30
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)
2251 - 2275 (24 ปี)
บ้านพลูหลวง
31
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)
2275 - 2301 (26 ปี)
บ้านพลูหลวง
32
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
2301 (2 เดือน)
บ้านพลูหลวง
33
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
2301 - 2310 (9 ปี)
บ้านพลูหลวง


การปกครอง

การจัดการปกครองในสมัยอยุธยาสามารถแบ่งออกได้เป็นสามช่วง คือ ช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (1893-1991) ช่วงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา (1991-2231) และการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระเพทราชาเป็นต้นไป (2231-2310)

 อยุธยาตอนต้น (1893-1991)

มีการปกครองคล้ายคลึงกับในช่วงสุโขทัย ในราชธานี พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ปกครองโดยตรง หากก็ทรงใช้อำนาจผ่านข้าราชการและขุนนางเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการปกครองภายในราชธานีที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ตามการเรียกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ[5] อันได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา
การปกครองนอกราชธานี ประกอบด้วย เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางค่อนข้างมาก[6] เมืองหน้าด่าน ได้แก่ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทางจากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง หากก็นำมาซึ่งปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง เมืองชั้นในทรงปกครองโดยผู้รั้ง ถัดออกไปเป็นเมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก ปกครองโดยเจ้าเมืองที่สืบเชื้อสายมาแต่เดิม มีหน้าที่จ่ายภาษีและเกณฑ์ผู้คนในราชการสงคราม[6] และสุดท้ายคือเมืองประเทศราช พระมหากษัตริย์ปล่อยให้ปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้ราชธานีทุกปี

 สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงพระเพทราชา (1991-2231)

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกระบบเมืองหน้าด่านเพื่อขจัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ และขยายอำนาจของราชธานีโดยการกลืนเมืองรอบข้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชธานี[7] สำหรับระบบจตุสดมภ์ ทรงแยกกิจการพลเรือนออกจากกิจการทหารอย่างชัดเจน ให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสมุหนายกและสมุหกลาโหมตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่อกรมและชื่อตำแหน่งเสนาบดี แต่ยังคงไว้ซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเดิม
ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคมีลักษณะเปลี่ยนไปในทางการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด โดยให้เมืองชั้นนอกเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานี มีระบบการปกครองที่ลอกมาจากราชธานี[8] มีการลำดับความสำคัญของหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี สำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมากนัก หากแต่พระมหากษัตริย์จะมีวิธีการควบคุมความจงรักภักดีต่อราชธานีหลายวิธี เช่น การเรียกเจ้าเมืองประเทศราชมาปรึกษาราชการ หรือมาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือถวายพระเพลิงพระบรมศพในราชธานี การอภิเษกสมรสโดยการให้ส่งราชธิดามาเป็นสนม และการส่งข้าราชการไปปกครองเมืองใกล้เคียงกับเมืองประเทศราชเพื่อคอยส่งข่าว ซึ่งเมืองที่มีหน้าที่ดังกล่าว เช่น พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช[9]

สมัยตั้งแต่พระเพทราชา (2231-2310)

ในสมัยพระเพทราชา ทรงกระจายอำนาจทางทหารซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับสมุหกลาโหมแต่ผู้เดียวออกเป็นสามส่วน โดยให้สมุหกลาโหมเปลี่ยนไปควบคุมกิจการทหารในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางใต้ ให้สมุหนายกควบคุมกิจการพลเรือนในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางเหนือ และพระโกษาธิบดี ให้ดูแลกิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองตะวันออก ต่อมา สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2275-2301) ทรงลดอำนาจของสมุหกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองทางใต้ไปขึ้นกับพระโกษาธิบดีด้วย[10]นอกจากนี้ ในสมัยพระมหาธรรมราชา ยังได้จัดกำลังป้องกันราชธานีออกเป็นสามวัง ได้แก่ วังหลวง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางเหนือ วังหน้า มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันออก และวังหลัง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันตก ระบบดังกล่าวใช้มาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[10]

ประชากรศาสตร์

 

ภาพชาวสยามจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ พ.ศ. 2236

กลุ่มชาติพันธุ์

ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยามีประชากรประมาณ 1,900,000 คน ซึ่งนับชายหญิงและเด็กอย่างครบถ้วน[11] แต่ลาลูแบร์กล่าวว่า ตังเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องเนื่องจากมีผู้หนีการเสียภาษีอากรไปอยู่ตามป่าตามดงอีกมาก[12] มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือไทยสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-กะไดเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบกวางสี คาบเกี่ยวไปถึงกวางตุ้งและแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงในเวียดนามตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความคลื่นไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการคลื่นไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย[13] ในยุคอาณาจักรทวารวดีในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี พ.ศ. 1100 ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย[13] ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบสุพรรณบุรี ราชบุรี ถึงเพชรบุรีและเกี่ยวข้องไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช[14] ซึ่งในส่วนนี้ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกเกี่ยวกับชาวสยามว่า ชาวลาวกับชาวสยามเกือบจะเป็นชนชาติเดียวกัน[15]
เอกสารจีนที่บันทึกโดยหม่าฮวนได้กล่าวไว้ว่า ชาวเมืองพระนครศรีอยุธยาพูดจาด้วยภาษาอย่างเดียวกับกลุ่มชนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน[13] คือพวกที่อยู่ในมณฑลกวางตุ้งกับกวางสี และด้วยความที่ดินแดนแถบอุษาคเนย์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์จึงมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายตั้งหลักแหล่งอยู่ปะปนกันจึงเกิดการประสมประสานทางเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาจนไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน[16] และด้วยการผลักดันของรัฐละโว้ ทำให้เกิดรัฐอโยธยาศรีรามเทพนคร ภายหลังปี พ.ศ. 1700 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมหลายอย่าง[16]
ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่นๆ ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เชลยที่ถูกกวาดต้อน ตลอดจนถึงชาวเอเชียและชาวตะวันตกที่เข้ามาเพื่อการค้าขาย ในกฎมนเทียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยาได้เรียกชื่อชนพื้นเมืองต่างๆได้แก่ "แขกขอมลาวพม่าเมงมอญมสุมแสงจีนจามชวา..."[17] ซึ่งมีการเรียกชนพื้นเมืองที่อาศัยปะปนกันโดยไม่จำแนกว่า ชาวสยาม[17] ในจำนวนนี้มีชาวมอญอพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เนื่องจากชาวมอญไม่สามารถทนการบีบคั้นจากการปกครองของพม่าในช่วงราชวงศ์ตองอู จนในปี พ.ศ. 2295 พม่าได้ปราบชาวมอญอย่างรุนแรง จึงมีการลี้ภัยเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก[18] โดยชาวมอญในกรุงศรีอยุธยาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ เช่น บ้านขมิ้นริมวัดขุนแสน ตำบลบ้านหลังวัดนก ตำบลสามโคก และวัดท่าหอย[19] ชาวเขมรอยู่วัดค้างคาว[20] ชาวพม่าอยู่ข้างวัดมณเฑียร[21] ส่วนชาวตังเกี๋ยและชาวโคชินไชน่า (ญวน) ก็มีหมู่บ้านเช่นกัน[22] เรียกว่าหมู่บ้านโคชินไชน่า[23] นอกจากนี้ชาวลาวก็มีจำนวนมากเช่นกัน โดยในรัชสมัยของสมเด็จพระราเมศวรครองราชย์ครั้งที่สอง ได้กวาดต้อนครัวลาวเชียงใหม่ส่งไปไว้ยังจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และจันทบุรี[24] และในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงยกทัพไปตีล้านนาในปี พ.ศ. 2204 ได้เมืองลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงแสน และได้กวาดต้อนมาจำนวนหนึ่ง[25]เป็นต้น โดยเหตุผลที่กวาดต้อนเข้ามา ก็เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร[26] และนอกจากกลุ่มประชาชนแล้วกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่เป็นเชลยสงครามและผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีทั้งเชื้อพระวงศ์ลาว, เชื้อพระวงศ์เชียงใหม่ (Chiamay), เชื้อพระวงศ์พะโค (Banca), และเชื้อพระวงศ์กัมพูชา[27]
นอกจากชุมชนชาวเอเชียที่ถูกกวาดต้อนมาแล้วก็ยังมีชุมชนของกลุ่มผู้ค้าขายและผู้เผยแผ่ศาสนาทั้งชาวเอเชียจากส่วนอื่นและชาวตะวันตก เช่น ชุมชนชาวฝรั่งเศสที่บ้านปลาเห็ด[28] ปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้นอกเกาะอยุธยาใกล้กับวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งภายหลังบ้านปลาเห็ตได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเซนต์โยเซฟ[29] หมู่บ้านญี่ปุ่นอยู่ริมแม่น้ำระหว่างหมู่บ้านชาวมอญและโรงกลั่นสุราของชาวจีน ถัดไปเป็นชุมชนชาวฮอลันดา[30] ทางใต้ของชุมชนฮอลันดาเป็นถิ่นพำนักของชาวอังกฤษ, มลายู และมอญจากพะโค[31] นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนของชาวอาหรับ เปอร์เซีย และกลิงก์ (คนจากแคว้นกลิงคราฎร์จากอินเดีย)[32] ส่วนชุมชนชาวโปรตุเกสตั้งอยู่ตรงข้ามชุมชนญี่ปุ่น ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่มักสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวสยาม จีน และมอญ[33] ส่วนชุมชนชาวจาม มีหลักแหล่งแถบคลองตะเคียนทางใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า ปทาคูจาม มีบทบาทสำคัญด้านการค้าทางทะเล และตำแหน่งในกองทัพเรือ เรียกว่า อาษาจาม และเรียกตำแหน่งหัวหน้าว่า พระราชวังสัน[34]

โขนต้องเจรจาด้วยเสียงเหน่อ ซึ่งถือเป็นสำเนียงหลวงเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา

 ภาษา

สำเนียงดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยามีความเชื่อมโยงกับชนพื้นเมืองตั้งแต่ลุ่มน้ำยมที่เมืองสุโขทัยลงมาทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกในแถบสุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี ซึ่งสำเนียงดังกล่าวมีความใกล้ชิดกับสำเนียงหลวงพระบาง โดยเฉพาะสำเนียงเหน่อของสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงหลวงพระบาง[35] ซึ่งสำเนีงเหน่อดังกล่าวเป็นสำเนียงหลวงของกรุงศรีอยุธยา ประชาชนชาวกรุงศรีอยุธยาทั้งพระเจ้าแผ่นดินจนถึงไพร่ฟ้าราษฏรก็ล้วนตรัสและพูดจาในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นขนบอยู่ในการละเล่นโขนที่ต้องใช้สำเนียงเหน่อ โดยหากเปรียบเทียบกับสำเนียงกรุงเทพฯในปัจจุบันนี้ ที่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นสำเนียงบ้านนอกถิ่นเล็กๆของราชธานีที่แปร่งและเยื้องจากสำเนียงมาตรฐานของกรุงศรีอยุธยา[36] และถือว่าผิดขนบ[35]
ภาษาดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาปรากฏอยู่ในโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นร้อยกรองที่เต็มไปด้วยฉันทลักษณ์ที่แพร่หลายแถบแว่นแคว้นสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่ดึกดำบรรพ์[37] และภายหลังได้พากันเรียกว่า โคลงมณฑกคติ เนื่องจากเข้าใจว่าได้รับแบบแผนมาจากอินเดีย[37] ซึ่งแท้จริงคือโคลงลาว หรือ โคลงห้า ที่เป็นต้นแบบของโคลงดั้นและโคลงสี่สุภาพ[35] โดยในโองการแช่งน้ำเต็มไปด้วยศัพท์แสงพื้นเมืองของไทย-ลาว ส่วนคำที่มาจากบาลี-สันสกฤต และเขมรอยู่น้อย[35] โดยหากอ่านเปรียบเทียบก็จะพบว่าสำนวนภาษาใกล้เคียงกับข้อความในจารึกสมัยสุโขทัย และพงศาวดารล้านช้าง[35]
ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ทะเลและเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติทำให้สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ต่างกับบ้านเมืองแถบสองฝั่งโขงที่ห่างทะเลเป็นเหตุที่ทำให้มีลักษณะที่ล้าหลังจึงสืบทอดสำเนียงและระบบความเชื่อแบบดั้งเดิมไว้ได้เกือบทั้งหมด[36] ส่วนภาษาในกรุงศรีอยุธยาก็ได้รับอิทธิพลของภาษาจากต่างประเทศจึงรับคำในภาษาต่างๆมาใช้ เช่นคำว่า กุหลาบ ที่ยืมมาจากคำว่า กุล้อบ ในภาษาเปอร์เซีย ที่มีความหมายเดิมว่า น้ำดอกไม้[38] และยืมคำว่า ปาดรื (Padre) จากภาษาโปรตุเกส แล้วออกเสียงเรียกเป็น บาทหลวง[39] เป็นต้น

ระบบไพร่

อาณาจักรอยุธยามีการใช้ระบบไพร่อันเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยสุโขทัย[40] โดยกำหนดให้ชายทุกคนที่สูงตั้งแต่ 1.25 เมตรขึ้นไปต้องลงทะเบียนไพร่[40] ไพร่จะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายเดือนเว้นเดือน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือเสบียงอาหารใด ๆ
ระบบไพร่มีความสำคัญต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ เพราะหากมีการเบียดบังไพร่โดยเจ้านายหรือขุนนางไว้เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของราชบัลลังก์ได้ ตลอดจนส่งผลให้กำลังในการป้องกันอาณาจักรก็จะอ่อนแอ ไม่เป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ ระบบไพร่ยังเป็นการเกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานชีวิตและความมั่นคงของอาณาจักร[41]

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

อาณาจักรอยุธยามักส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนเป็นประจำทุกสามปี เครื่องบรรณาการนี้เรียกว่า "จิ้มก้อง" นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการส่งเครื่องราชบรรณาการดังกล่าวแฝงจุดประสงค์ทางธุรกิจไว้ด้วย คือ เมื่ออาณาจักรอยุธยาได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแล้วก็จะได้เครื่องราชบรรณาการกลับมาเป็นมูลค่าสองเท่า[42] ทั้งยังเป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยง จึงมักจะมีขุนนางและพ่อค้าเดินทางไปพร้อมกับการนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายด้วย
อาณาจักรอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกในด้านการค้าขายและการเผยแผ่ศาสนา โดยชาวตะวันตกได้นำเอาวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาด้วย ต่อมา คอนสแตนติน ฟอลคอนได้เข้ามามีอิทธิพลและยังมีหลักฐานว่าคบคิดกับฝรั่งเศสจะยึดครองกรุงศรีอยุธยา[42] บรรดาขุนนางจึงประหารฟอลคอนเสีย และลดระดับความสำคัญกับชาติตะวันตกตลอดช่วงเวลาที่เหลือของอาณาจักรอยุธยา
ประวัติเมืองเก่าอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณ
พุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนาน พงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด  ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ.1893 นั้น ได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อเรียกว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม  
มีทึ่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะ เมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่ ความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรม
ที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายใน การปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ

   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนา กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์จาก 5 ราชวงศ์ คือราชวงศ์ อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ประสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ.2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน   พ.ศ.2127 และเสีย กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบ กู้เอกราชได้ใน ปลายปีเดียวกันแล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลาย เป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนี้ไปอยู่ตามป่ากลับ เข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"
อยุธยา หลายคนรู้จักดี ด้วยประวัติครั้นเมื่อเป็นราชธานีเก่าแก่กว่า 700 ปี มีวัดและสถานที่ทางประวัติศาสตร์นับร้อยแห่ง
จะให้ผมแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวก็คงไม่หมดแน่ครับ   หากต้องการเที่ยว ก็พอจะแนะนำได้ มีสถานที่สำคัญอยู่ 4แห่งที่พลาด ไม่ได้นั้นได้แก่คือ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรด ให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ.2438 ทรงโปรดให้จัด ตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ.2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อยุธยาจึงเปลี่ยน ฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
             พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรด ให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ.2438 ทรงโปรดให้จัด ตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ.2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อยุธยาจึงเปลี่ยน ฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภาย ในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ.2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและ
องค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก มีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนนคร ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534มีพื้นที่ ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

 อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้อิสรภาพ วีรกรรมและด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมายเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ดังคำกล่าวว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากไปด้วย วัดวาอารามประสาทราชวังและปูชนียสถานวัตถุมากมาย และมีพระมหากษัตริย์ปกครอง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสืบต่อกันมาถึง 33 พระองค์ มีพระราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักร กรุงศรีอยุธยา รวม 5 ราชวงศ์ ได้แก่
  1. ราชวงศ์อู่ทอง มี 4 พระองค์
  2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มี 13 พระองค์
  3. ราชวงศ์สุโขทัย มี 7 พระองค์
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง มี 4 พระองค์
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มี 6 องค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น